การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ทำได้ง่ายๆ แต่รายได้ดี
เพาะเห็ดฟางในตะกร้า
ปลูกผักขาย สร้างรายได้
คนไทยนิยมบริโภคกันเป็นประจำอยู่แล้ว โดยเฉพาะเห็ดฟาง ซึ่งตลาดมีความต้องการอยู่ตลอด ที่สำคัญเป็นเห็ดที่เพาะง่าย หากมีระบบจัดการดี ๆ ก็สามารถสร้างผลผลิตตลอดทั้งปีเลย
ต้นทุนอุปกรณ์ค่าใช้จ่าย
– ตะกร้าพลาสติก ใบละประมาณ 40 บาท
– หัวเชื้อเห็ดฟาง 15 บาท (ใช้ได้ 2-3 ตะกร้า)
– อาหารเสริม เช่น ฟางข้าว ผักตบชวา เลื่อย เปลือกมันสำปะหลัง หรือซื้อสำเร็จรูปถุงละประมาณ 30 บาท
– สุ่มไก่ ใบละ 200-250 บาท หรือจะสร้างเป็นโรงเรือนแบบมาตรฐานก็ได้
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
เห็ดฟางจะเริ่มเก็บผลผลิตได้ในวันที่ 8-9 ของการเพาะ และเก็บต่อได้อีกประมาณ 5 วัน รวมผลผลิตต่อตะกร้าอยู่ที่ราว 2 กิโลกรัม ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย โดยเห็ดฟางจะออกดีในอากาศร้อนชื้น
ราคาและช่องทางจัดจำหน่าย
ราคาเห็ดฟางจะอยู่ในช่วง 50-100 บาทต่อกิโลกรัม แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวเห็ดฟางมักมีราคาสูงขึ้นกว่าช่วงอื่น ๆ เนื่องจากผลผลิตออกมาน้อย แต่ความต้องการบริโภคมีตลอดทั้งปี
สำหรับช่องทางขาย โดยปกติจะมีคนมาติดต่อซื้อถึงหน้าฟาร์มทุกวันอยู่แล้ว แต่ราคาจะไม่ดีเท่ากับการนำไปขายส่งในตลาด หรือส่งตามห้างสรรพสินค้าด้วยตัวเอง นอกจากนี้หากนำเห็ดฟางไปแปรรูป เช่น อบแห้ง ก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าขึ้นไปอีก
วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
เริ่มจากการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม นั้นตือก้อนเชื้อเห็ดฟาง ตะกร้าพลาสติก ฟางข้าว สุ่มไก่หรือโครงโรงเรือน พลาสติก วัสดุพลางแสง อาหารเสริมของเห็ดเช่นแป้งสาลี หรือผักตบชวา เมื่อเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยก็ทำการเพาะ
- ทุบก้อนเชื้อเห็ดฟางในถุงให้แตกพอประมาณแต่ไม่ต้องให้ถึงกับละเอียด นำมาผสมกับแป้งสาลี 1ช้อนชา จากนั้นแบ่งก้อนเชื้อเห็ดฟางออกเป็น 2กอง กองละเท่าๆกัน เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง สามารถแบ่งออกเป็น2กองสามารถและเพาะเห็ดฟางได้ ประมาณ 2 ตะกร้า
- ให้ใส่ฟางข้าวที่ผ่านการแช่น้ำไว้แล้ว 1 คืน ลงไปในตะกร้า ให้ฟางข้าวมีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น
- โรยอาหารเสริมลงไป จะเป็นผักตบชวาที่หั่นไว้หรือรำละเอียดก็ได้ โรยลงไปรอบๆบนฟางข้าว แต่อย่าใส่อาหารเสริมมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการเน่าเสียได้
- นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยรอบๆทับไปบนอาหารเสริม โดยเน้นโรยที่ช่องของตะกร้า ถึงตอนนี้เราจะได้เป็น ชั้นที่ 1 เรียบร้อย (1ตะกร้าจะต้องทำ 3 ชั้น)
- ทำชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ด้วยวิธีการเดิมแบบข้างต้น จากนั้นปิดชั้นที่ 3 ด้วยฟางข้าว จากนั้นรดน้ำใส่ตะกร้าให้เปียกชุ่ม (ถึงตอนนี้เราก็จะได้ตะกร้าเพาะเห็ดฟาง 1 ตะกร้าเป็นที่เรียบร้อย)
- นำตะกร้าเห็ดฟางไปวางไว้บนพื้นที่ที่เราเตรียมไว้ วางไว้บนเหนือพื้นดินประมาณ 3-4นิ้ว (นำก้อนอิฐมาวางรองเป็นฐานอย่าให้ติดพื้น)
- จากนั้นก็นำโครงไม้ไผ่หรือสุ่มไก่มาครอบตะกร้า
- นำพลาสติกมาคลุมโครงหรือสุ่มจากด้านบนถึงพื้นให้มิดชิดจากนั้นก็คุมด้วยวัสดุพลางอีกที
ขั้นตอนดูแลเห็ดฟางในตะกร้า
- รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่ประมาณ 30 -40 องศา
- วันที่4 ช่วงตอนเย็นให้เปิดพลาสติกที่คลุมออกเพื่อให้อากาศเข้าไปกระตุ้นเส้นใยใช้เวลาเปิดรับอากาศประมาณ 30 นาที
- วันที่ 5 เป็นต้นไป ในช่วงตอนเย็น ให้เปิดพลาสติกที่คลุมสุ่มพอประมาณ ให้อากาศถ่ายเทใช้เวลาประมาณ 15 นาที จากนั้นก็คลุมพลาสติกให้มิดชิดเหมือนเดิม
- วันที่ 7 ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น สามารถเก็บผลผลิตได้ในวันที่ 8-9
- การเก็บเห็ดฟางควรเก็บด้วยความนุ่มนวลอย่าให้บอบช้ำ จากนั้นก็นำส่งขายที่ตลาดหรือนำไปบริโภคได้เลย
SMEs Tips (การเพาะเห็ดฟาง สร้างรายได้)
- วิธีประหยัดสุดคือเพาะในตระกร้า คนในเมืองก็เพาะขายได้
- ราคาเห็ดฟางดีต่อเนื่องทุกฤดูกาล
- ความต้องการของตลาดมีอย่างไม่จำกัดมีเท่าไหร่ก็ขายได้
- สามารถดัดแปลงเป็นเมนูสุขภาพเพิ่มมูลค่าสินค้าได้
ราคาขาย เห็ดฟาง
วิธีเท่านี้ก็จะเป็นวิธีสำหรับการเพาะเห็ดฟางแบบง่ายๆที่สามารถนำไปทำตามกันได้ไม่ยาก ไม่ต้องมีพื้นที่มาก ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรมากมาย เห็ดฟาง 1 ตะกร้าจะให้ผลผลิตที่มากกว่า 1 กิโลกรัมและตามตลาดจะมีการขายอยู่ที่ 80 ถึง 100 บาท ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ที่ดี
ความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับ การเพาะเห็ดฟาง
คนไทยรู้จักกับเห็ดมาเป็นเวลานานและหลายคนก็นิยมบริโภค โดยเห็ดนั้นนอกจากเอามาทำอาหารได้หลากหลายแล้ว ยังถือเป็นส่วนสำคัญในเมนูสุขภาพ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
การเพาะเห็ดฟาง ถือว่า เพาะขึ้นได้ง่าย สามารถเพาะได้ทุกฤดูกาล อีกทั้งราคาของเห็ดฟางก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก โดยราคาของเห็ดฟางจะดีมากในฤดูหนาวและช่วงเทศกาลกินเจ
แต่สิ่งที่นอกเหนือจากการตลาดและราคาดูเหมือนว่าที่ทำให้ถูกใจเกษตรกรมากขึ้นคือระยะเวลาในการเก็บผลผลิตที่สามารถเก็บไปขายได้ภายใน 7-12 วัน ถือเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่มีวงจรการผลิตสั้นมากจึงสร้างรายได้สม่ำเสมอให้กับผู้ลงทุนอย่างดี