วิธีลงทะเบียน เยียวยานายจ้าง SME รับเงินหัวละ 3000 บาท สูงสุด 6 แสนบาท

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน ตลอดจนสร้างความแข็งแรงให้แก่ธุรกิจ โดยมีรายละเอียดดังนี้

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการเยียวยานายจ้าง

1. เป็นนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม มีการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทยไม่เกิน 200 คน

2. ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการในเดือนตุลาคม 2564 และรับเงินอุดหนุนในเดือนที่ 1 – 3 (ตั้งแต่พฤศจิกายน 2564 ถึง มกราคม 2565)

เช็กขั้นตอน เยียวยานายจ้างธุรกิจSMEs ไทม์ไลน์ลงทะเบียนรับ รับเงินช่วยจ้างงาน หัวละ 3,000 บาท ไม่เกิน 200 คน นาน 3 เดือน

 

อ่าน >> สินเชื่อกรุงไทยใจดี ให้ยืมวันนี้ 100000 ผ่อนชิวๆ 12 เดือน โดยไม่ต้องค้ำ

 

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการเยียวยานายจ้าง

1. เป็นนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม มีการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทยไม่เกิน 200 คน

2. ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการในเดือนตุลาคม 2564 และรับเงินอุดหนุนในเดือนที่ 1 – 3 (ตั้งแต่พฤศจิกายน 2564 ถึง มกราคม 2565)

เงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุน

1. รัฐจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมและรักษาการจ้างงานให้แก่นายจ้าง ให้กับลูกจ้างสัญชาติไทย จำนวนไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน

2. เงินอุดหนุนคำนวณตามยอดการจ้างจริงทุกเดือน โดยพิจารณาจากจำนวนลูกจ้างที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม

3.นายจ้างจะต้องรักษาการจ้างงาน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ในระหว่างร่วมโครงการ โดยหากต่ำกว่าร้อยละ 95 จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนในเดือนนั้น ในกรณีนายจ้างมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มตามจำนวนการจ้างงานจริง ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนลูกจ้างสัญชาติไทย ณ วันเริ่มโครงการ

 

ขั้นตอนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ

– ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ วันที่ 20 ตุลาคม – 20 พฤศจิกายน 2564

– ยืนยันเข้าร่วมโครงการ

– เลขบัญชีธนาคาร

– ทราบยอดการจ้างงาน ณ เดือนที่เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาการโอนเงินเยียวยา

– เดือนที่ 1 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564

– เดือนที่ 2 วันที่ 30 ธันวาคม 2564

– เดือนที่ 3 วันที่ 31 มกราคม 2565

 

กลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับเยียวยาในครั้งนี้

– ครอบคลุมสถานประกอบการ จํานวน 480,122 แห่ง

– รักษาการจ้างงานลูกจ้างได้จำนวน 5,040,176 คน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, Bright TV

>> ดูข่าวสินเชื่อ เงินกู้ ที่น่าสนใจ <<